การวิเคราะห์ตลาดระดับภูมิภาค
สภาพแวดล้อมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี2567 โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม ผู้ค้าปลีกต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมระดับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในบริบทอย่างนี้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดที่นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายสูง
ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์และอุปทาน:
- ตลาดทั้งสี่แห่งมีความเสียดทานที่เพิ่มขึ้นโดยเวียดนามเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นสูงสุด (40.1% เดือนต่อเดือน)และสิงคโปร์เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดที่ 4.5%
- ค่าความเสียดทานที่สังเกตุเห็นได้ในมาเลเซีย เวียดนาม และประเทศไทยในเดือนมีนาคม ดูดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ในขณะที่การฟื้นตัวของความเสียดทานในสิงคโปร์ในเดือนมีนาคมเกิดขึ้นหลังจากที่มีการลดลงของความเสียดทานต่อเนื่องถึงเจ็ดเดือน
- ดัชนีความต้องการทรัพย์สินเช่าเพื่อค้าปลีกเพิ่มขึ้นสำหรับตลาดทั้งสี่แห่ง สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนามมีการเติบโตของความต้องการเป็นเลขสองหลัก ในขณะที่มาเลเซียเห็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยกว่าเพียง 5.8%
- อุปทานของรายการอสังหาเพื่อเช่าในมาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทยเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 แต่อุปทานในเวียดนามลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่ 23.3%
แรงเสียดทานของตลาด: ตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
แรงเสียดทานในตลาด ซึ่งวัดโดยอัตราส่วนระหว่างอุปสงค์ต่ออุปทาน บ่งชี้ถึงช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ค้าปลีก, เจ้าของห้างสรรพสินค้า, และนักลงทุน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการเช่าพื้นที่, อัตราค่าเช่า, การเติบโต, และความเสี่ยง ด้วยการประเมินตัวชี้วัดเหล่านี้จากดัชนีเฉพาะของเรา จะทำให้ธุรกิจของท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และความยั่งยืน เพื่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้:มาเลเซียสิงคโปร์ ประเทศไทย และ เวียดนาม
การเปลี่ยนแปลงของความเสียดทานอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน(รูปภาพที่ 2) ซึ่งในเดือนมีนาคมมีการเพิ่มขึ้นของอุปทานพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในสิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทยโดยสิงคโปร์พบการเพิ่มขึ้นของอุปทานสูงสุดที่ 10.0% ในขณะที่เวียดนามพบการลดลงของพื้นที่ให้เช่าที่ตามที่วัดโดยดัชนีอุปทาน
ตลาดทั้งหมดแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีอุปสงค์โดยเวียดนามพบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอุปสงค์ซึ่งเพิ่มขึ้น 19.6% เดือนต่อเดือนตามมาด้วยสิงคโปร์ที่เห็นอุปสงค์เติบโตอยู่ที่ 16.1% เดือนต่อเดือน ประเทศไทยเองก็มีการเติบโตของอุปสงค์อยู่ที่เลขสองหลักเดือนต่อเดือนในขณะที่การเติบโตของอุปสงค์ในมาเลเซียค่อนข้างซบเซา โดยเพิ่มขึ้นเพียง 5.8% เดือนต่อเดือน
รูปภาพที่ 3 ประเมินใจกลางเมืองต่างๆในสี่ตลาดและแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจเมืองโฮจิมินห์และฮานอยยังคงมีความเสียดทานสูงมากเนื่องจากเป็นตลาดเจ้าของที่ดิน ในขณะที่ความเสียดทานในพื้นที่ค้าปลีกของใจกลางเมืองของมาเลเซียดูเหมือนจะค่อนข้างคงที่ในช่วงปีที่ผ่านมา
การวิเคราะห์อุปสงค์ของต่างชาติของเราบน DataSense (รูปภาพที่4) บ่งชี้ว่ามีสองในสี่ใจกลางเมืองของมาเลเซียที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศติดอันดับสูงสุดสามอันดับแรกซึ่งความสนจชใจนี้เห็นได้จากการค้นหาและการเข้าชมรายการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารวมถึงการติดต่อกับนายหน้าและผู้พัฒนาอสังหานอกประเทศต้นทางความสนใจที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประกาศเกี่ยวกับการดำเนินการที่ก้าวหน้าในการก่อสร้างการเชื่อมต่อทางรถไฟRapid Transit ระหว่างสิงคโปร์และยะโฮร์รวมถึงศักยภาพของการฟื้นฟูรถไฟความเร็วสูง